วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

นวัตกรรมและเทคโนโลยี

                                            นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
นวัตกรรมหมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิมโดยผ่านการทดลองเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
แนวคิดพื้นฐานที่ส่งผลต่อนวัตกรรมการศึกษา
1.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.ความพร้อม
3.การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4.การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
                                                                เทคโนโลยี
คือความเจริญทางด้านต่างๆๆที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน เผป็นผลมาจากการศึกษาการค้นคว้าทดลองประดิษฐืคิดค้นสิ่งต่างๆโดยอาศรัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์   การนำเอานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เรียกว่า เทคโนโลยี   การใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ เรียกสิ่งใหม่ว่าเป็นนวัตกรรม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี
ทางด้านบวก  สร้างความเจริญเติบโตให้สังคมในทุกๆด้าน เช่น ด้านการศึกษา
ทางด้านลบ ส่งผลกระทบต่อชุมชน เศรษฐกิจ จิตวิทยา สิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา


การแอโนไดไททาเนียม

หลักการพื้นฐานการแอโนเซซันไททาเนียม (เสถียร นิลธวัช ;2527: 1-17)
การแอโนไดไททาเนียมทำได้ โดยประกอบอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytic  ceel)ซึ่งเป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ต้องผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปทำให้เกิดปฎิกริยาเคมี ดังภาพประกอบที่ 2 ที่ประกอบด้วย
1.  แหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้าจากภายนอก (Power supply)
2.  ขั้วไฟฟ้า (Electrode)คือขั้วโลหะที่จุ่มอยู่ในอิเล็กโทรไลด์ที่มีสามารถนำไฟฟ้าได้ ขั้วไฟฟ้าแบ่งตามลักษณะปฏิกิริยาเป็น 2 ประเภท ดังนี้ แอโนด( Anode)เป็นขั้วไฟฟ้าของครึ่งเซลล์ที่เกิดปฎิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation reaction)และแคโทด(Cathode)เป็นขั้วไฟฟ้าของครึ่งเซลล์ที่เกิดปฎิกิริยารีดักชัน(Reduction reaction)
3. อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte)  จากภาพประกอบแสดงชุดการทดลองเคมีไฟฟ้าแบบ 2 ขั้ว โดยต่อไททาเนียมที่ขั้วบวกและกราไฟท์ที่ขั้วลบของแหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้าภายนอก โดยจุ่มสารละลายกรดซัลฟิวริก เมื่อเกิดปฎิกิริยา อิเล็กตรอนที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ขั้วแอโนด (ไททาเนียม)  จะถูกถ่ายโอนไปที่ขั้วแคโทด  (กราไฟท์)  เกิดปฏิกิริยารีดักชันและทำปฎิกิริยากับออกซิเจนเกิดฟิล์มออกไซด์บนพื้นผิวไททาเนียม


                                             

กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด

2.7  กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning  Electron Microscopy: SEM)  (ปิ่นสุภา  ปีติรักษ์สกุล; 2545:220)
          กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning  Electron Microscopy) หรือ SEM  เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ลักษณะชิ้นงานในหลายสาขา  เช่น  วัสดุศาสตร์  ไมโครอิเล็กทรอนิกส์  ธรณีวิทยา  ชีววิทยา  และการแพทย์  เนื่องจากสาขาวิชาต่างๆ  จำเป็นที่ต้องทำงานเกี่ยวกับวัสดุและชิ้นส่วนประกอบท่มีขนาดเล็กมากซึ่งไม่สามารถวิเคราะห์ได้จากเครื่องมือธรรมดาทั่วไป  SEM  มีจุดเด่นที่สำคัญ 3 ประการ  ได้แก่  สามารถให้ภาพที่มีความชัดลึกสูง  (High  depth  of field)  สามารถให้กำลังแยกแยะเชิงระยะสูง(High  spatial resolution)และสามารถใช้ร่วมกับเทคนิคอื่นๆ  เช่น แบบเอนเนอร์ดิสเพอร์สีฟเอกเรย์สเปกโทรเมทรี  (Energy  Dispersive  Spectrometry: EDS)  และแบบเวฟเลงท์ดิสเพอร์สีฟเอกเรย์สเปกโทรเมทรี  (Wavelenth  Didpersive  Spectrometry: WDS)